
การป้องกันการปนเปื้อนระหว่างเหล็กและสแตนเลสในการผลิตสำคัญอย่างไร?
การปนเปื้อนสนิมในสแตนเลสระหว่างการผลิตจะทำให้อายุการใช้งานสั้นลง,ผิดวัตถุประสงค์ในการออกแบบและสร้างความเสียหายกับProduct เมื่อนำไปใช้งานอย่างรุนแรงอีกด้วย
การเกิดสนิมในสแตนเลสเกิดจากฟิล์มโครเมียมออกไซด์ ที่เคลือบผิวถูกทำลายไป เช่น ถ้าสแตนเลสถูกทำให้เกิดรอยขีดข่วน แล้วบริเวณรอยนั้นมีความชื้น ซึ่งสามารถทำให้เกิดปฏิกิริยากับธาตุเหล็ก ก็จะเป็นสาเหตุให้เกิดสนิมขึ้นได้ และในกรณีที่มี เหล็กกล้าคาร์บอนที่เป็นอนุภาคเล็กๆติดกับผิวสแตนเลสก็จะทำให้เกิดสนิมและทำลายฟิล์มป้องกันออกไซด์ของสแตนเลสได้
โดยการเกิดสนิมในระหว่างการผลิตอาจเกิดจากหลายสาเหตุดังนี้
1.จากการที่วางชิ้นงานสแตนเลสกับเหล็กด้วยกัน
2.จากวัสดุที่ทำจากเหล็กในอุปกรณ์การประกอบถังเกิดการสัมผัสโดยตรงกับสแตนเลส
3.จากฝุ่นผงโลหะจากการผลิตถังเหล็กในพื้นที่ผลิตใกล้กัน
4.จากการใช้วัสดุสิ้นเปลืองเช่นใบหินเจียร ผิดประเภท
เพื่อเป็นการป้องกันการเกิดสนิมและทำลายฟิล์มโครเมียมออกไซด์จากผิวของสแตนเลสจึงเป็นเรื่องที่การทำงานจะต้องแยกเหล็กและสแตนเลสออกจากกันโดยสิ้นเชิงเริ่มตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการผลิต ดังนี้
1. การจัดเก็บสแตนเลส ควรจัดเก็บเป็นหมวดหมู่ไม่รวมกับเหล็ก และชั้นวางเป็นวัสดุที่ไม่มีส่วนผสมของเหล็ก เช่นไม้ พลาสติก หรือจะเป็นสแตนเลสเอง
2. กระบวนการผลิต เครื่องมือไม่ควรเป็นเหล็กเพื่อลดการสัมผัส กรณีหลีกเลี่ยงไม่ได้ควรหาวัสดุอื่นๆมาป้องกันด้วย เช่น ลิ่มสแตนเลท,Linning อุปกรณ์ Strong back, Roller support และ อื่นๆ
ภาพ : การใช้ลูกกลิ้ง Teflon เพื่อวางสแตนเลส
ภาพ : การใช้ PVC ป้องกัน ผิวสแตนเลส
3. กระบวนการผลิต ควรแยก พื้นที่โรงงานในการผลิดระหว่างเหล็กและสแตนเลสเพื่อป้องกันละอองฝุ่นเหล็กที่จะเข้ามาสร้างปัญหาเเกิดสนิมกับผิวสแตนเลส กรณีหลีกเลี่ยงไม่ได้ควรหาฉากกั้นหรืออุปกรณ์ป้องกันฝุ่นเหล็กให้เพียงพอ
4.ใช้วัสดุสิ้นเปลือง ให้ถูกประเภท โดยใช้ใบหินเจียรที่เหมาะสำหรับงานสแตนเลสเท่านั้น
ดังนั้นการป้องกันการปนเปื้อนระหว่างเหล็กและสแตนเลสในการผลิตที่ดีจะช่วยให้ถังซึ่งผลิตด้วยวัสดุสแตนเลสมีอายุการใช้งานที่ยาวนานถูกต้องตามการออกแบบ และไม่มีปัญหาการปนเปื้อนจากสนิมเมื่อนำถังไปใช้งาน